วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Mélanine

Les mélanines sont parmi les pigments principaux responsables de la coloration des téguments dans le règne animal. On parle abusivement de "la mélanine" au singulier. La couleur de la peau, des cheveux et des yeux chez l’homme dépendent principalement de son type et de sa concentration. Les plantes, les oiseaux pour leurs plumes, les protozoaires en produisent aussi.
Les mélanines biologiques sont des macromolécules produites pour la plupart par les mélanocytes, par addition ou condensation de monomères formés à partir de la tyrosine (eumélanine) ou de la tyrosine et de la cystéine (phéomélanine), avec le concours de l'enzyme tyrosinase. Une faible proportion, comme la neuromélanine de la substantia nigra du cerveau humain, n'est pas fabriquée dans les mélanocytes mais provient probablement du métabolisme d’une amine simple comme la dopamine.
Il existe également des mélanines artificielles : polyacétylènes, polyanilines, et polypyrroles de couleur noire ou brune, et leurs copolymères ; elles ont une application industrielle ou biotechnologique.
Le rôle principal de la mélanine est la protection pigmentaire contre les radiations UV. Chez certains animaux, les mélanophores, chromatophores porteurs de mélanine, contribuent au camouflage ou signalent par leurs transformations l’émotion, le stress ou un changement de l’environnement (température etc.). Chez certains invertébrés, les agents pathogènes sont encapsulés dans de la mélanine, qui contribuerait donc chez eux à la défense contre les infections. Il semble aussi que ses groupes carboxylate et hydroxyl-phénol puissent isoler du milieu certains éléments dommageables lorsqu’ils sont en excès, comme les métaux lourds. [1]
Par l’intermédiaire de la psychologie, la mélanine peut exercer une grande influence sur la société humaine (choix d’un partenaire, discrimination).

เมลานิน
สารเมลานิน (melanin) หรือเม็ดสีสร้างจากเซลล์ผิวหนังที่เรียกว่าเมลาโนไซต์ (melanocyte) เป็นเซลล์ที่เจริญมาจากเซลล์ระบบประสาทซึ่งแทรกตัวอยู่ในชั้นหนังกำพร้าส่วนล่างสุด โดยเซลล์เมลาโนไซต์หนึ่งเซลล์จะแตกแขนงเป็นร่างแหเล็กๆ ยื่นไปสัมผัสเซลล์ผิวหนังประมาณ 35 เซลล์
เมลาโนไซต์จะสร้างสารเมลานินบรรจุในแคปซูลเรียกว่าเมลาโนโซม เมื่อสร้างเสร็จจะส่งไปตามร่างแหเข้าสู่เซลล์ผิวหนัง สารเมลานินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
ยูเมลานิน (Eumelanin) เป็นเซลล์เม็ดสีเข้ม เพราะมีเมลานินบรรจุอยู่ในแคปซูลมาก
ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) เป็นเซลล์สีเหลืองหรือแดง เพราะมีเมลานินน้อย
ฉะนั้นคนผิวขาว ผมแดง จึงมีฟีโอเมลานินมาก ส่วนคนผิวเข้ม ผมดำ จึงมียูเมลานินมาก ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คนผิวดำแตกต่างจากคนผิวขาว ผิวเหลือง คือคนผิวเข้มจะมีการสร้างเมลาโนโซมขนาดใหญ่กว่า มีจำนวนมากกว่า จึงทำให้สร้างเมลานินได้มากกว่า รวมถึงเมลาโนโซมถูกทำลายช้ากว่าคนผิวขาวด้วย
แต่สีผิวของคนเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับเมลานินเพียงอย่างเดียว ยังขึ้นอยู่กับเส้นเลือดและสารบางชนิด เช่น เบต้าแคโรทีนที่ทำให้ผิวเหลือง นอกจากนี้ผิวหนังทั่วร่างกายของเราก็ยังมีการกระจายตัวของเม็ดสีไม่สม่ำเสมอ อาทิ พบเซลล์เม็ดสีมากบริเวณหน้า หัวนม อวัยวะเพศ

หน้าที่ของเมลานิน
เมลานินมีกลไกออกฤทธิ์ป้องกันแสงหลายประการ ได้แก่
ทำหน้าที่เหมือนแผ่นกรองแสง
ช่วยกระจายแสง เช่น แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นอย่างแสงสีม่วงฟ้าที่เมื่อกระทบผิวหนังจะถูกหักเหออกไป
ดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตและแสงที่เห็นด้วยตาเปล่า แล้วกระจายออกเป็นความร้อน
ทำหน้าที่จับอนุมูลอิสระ

สาเหตุความผิดปกติ
สาเหตุของความผิดปกติของเม็ดสีมีหลายปัจจัย เช่น
โรคจากพันธุกรรม
การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน
การโดนแสงแดดจัด
การกินยาคุมกำเนิดที่มีเอสโทรเจนปริมาณสูงและยาประเภทฮอร์โมนอื่นๆ
โรคผิวหนังบางชนิด เช่น กลาก เกลื้อน โรคด่างขาว ไฝและขี้แมลงวัน กระ ฝ้า
การได้รับสารเคมี
การขาดวิตามิน

การป้องกัน

หลีกเลี่ยงแสงแดดด้วยเสื้อผ้า หรือครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป
ผ่อนคลายความเครียดและความกังวลใจ
ใช้สมุนไพร
วุ้นว่านหางจระเข้สดถูที่ผิว ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วล้างออก ก่อนนำมาใช้ต้องล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด
น้ำมะเฟืองคั้นสดทาบริเวณฝ้า ทิ้งให้แห้งแล้วล้างออก เพราะในมะเฟืองมีความเป็นกรดสูง เวลาใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจาง แล้วทดสอบกับผิวบริเวณอื่นก่อนนำมาทาหน้า
การบริโภคผักและผลไม้สดที่มี วิตามินเอ ซี ดี และอี ในปริมาณที่พอเหมาะ

ไม่มีความคิดเห็น: