วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552

Abhisit Vejjajiva


Abhisit Vejjajiva (help·info) (Thai: อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, IPA: born 3 August 1964) is the incumbent Prime Minister of Thailand. He has been the leader of the Democrat Party since February 2005, first serving as opposition leader in the House of Representatives of Thailand, which on 15 December 2008, elected him the 27th Prime Minister of Thailand. Vejjajiva was formally endorsed by King Bhumibol Adulyadej as Prime Minister on 17 December 2008.
Abhisit was born in
Newcastle-upon-Tyne, England to a family of Thai physicians. He was educated at Eton and Oxford and successfully ran for MP of Bangkok under the Democrat Party following the 1991 NPKC military coup. He quickly rose through party ranks before failing in a bid to become party leader in 2001. He was appointed party leader after the Democrat Party's overwhelming defeat in the 2005 elections.
During the
2005-2006 Thai political crisis, Abhisit called for King Bhumibol to find a replacement for then Prime Minister Thaksin Shinawatra. Under Abhisit's leadership, senior Democrat Party members accused Thaksin of what they called the Finland Plot, a supposed plan by Thaksin to overthrow Bhumibol. Abhisit boycotted the 2006 elections and by-elections, claiming that the elections were just a means to "divert public attention" from the Shin Corp scandal. Abhisit voiced displeasure at the 2006 coup that overthrew Thaksin, but otherwise did not protest it or the military junta that ruled Thailand for over a year. A fact-finding panel at the Attorney-General's Office found that the Democrat Party bribed other parties to boycott the 2006 elections to force a constitutional crisis, and voted to dissolve the party. A junta tribunal acquitted Abhisit and the Democrats of the vote fraud charges, while banning Thaksin's Thai Rak Thai party for similar charges. Abhisit supported the junta's 2007 Constitution, calling it an improvement on the 1997 Constitution. He promised to amend any constitutional deficiencies if he won junta-administered elections in December 2007. However, despite a new populist policy platform, the Democrat Party lost the 2007 election to the People's Power Party. In the crisis that followed, several senior members of the Democrat Party became leaders of the People's Alliance for Democracy, which seized Government House, Don Muang Airport, and Suvarnabhumi Airport, while engaging in violent clashes with police and anti-PAD protesters. Abhisit voiced displeasure at sieges, but did not stop his Democrat Party deputies from their roles in the PAD.At the height of the airport sieges, the PAD openly said that the only person they would accept as Premier was Abhisit.The sieges ended when the Constitutional Court banned the People's Power Party. Several members of the PPP defected to the Democrat Party, allowing Abhisit to form a government and become Prime Minister of Thailand. Army commander and co-leader of the 2006 coup, General Anupong Paochinda, was widely reported to have encouraged or coerced MPs to defect. PAD leader Khamnoon Sitthisamarn and junta-appointed Senator called Abhisit's premiership a "genuine PAD victory" and a "Anupong-style coup d'etat." The circumstances of his ascent to power closely linked Abhisit to the Bangkok elite, the Army and the Royal Palace.



ประวัติ

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 — ) นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย
ในอดีตนายอภิสิทธิ์เป็นส.ส. กรุงเทพมหานคร 6 สมัย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สคศ.) , สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) , สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป) และสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สกถ.) ในรัฐบาล นายชวน หลีกภัย (ครม.คณะที่ 53)
นายอภิสิทธิ์ เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นนักการเมืองที่มีบุคลิกหน้าตาดี ได้รับสมญานาม จากสื่อมวลชนว่า "หล่อใหญ่" ซึ่งตั้งให้เข้าชุดกันกับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์รุ่นใหม่บุคคลอื่น ๆ เช่น
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับสมญานามว่า "หล่อเล็ก" และ นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นเจ้าของสมญานาม "หล่อโย่ง" เป็นต้น
หลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่มีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำในการจัดตั้ง เนื่องจากเป็นพรรคการเมืองที่ได้ ส.ส.มากที่สุด และ นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้พรรคประชาธิปัตย์มีสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้านพรรคเดียวในสภาผู้แทนราษฎร นายอภิสิทธิ์ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเงาตามรูปแบบ คณะรัฐมนตรีเงาที่มีในระบบเวสต์มินสเตอร์ของอังกฤษขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะและติดตามตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล ว่าเป็นไปด้วยความโปร่งใสหรือไม่

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กและ น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ เจ้าของงานเขียน "ความสุขของกะทิ" รางวัลซีไรท์ ประจำปี พ.ศ. 2549
เมื่อ ด.ช.อภิสิทธิ์ มีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่
โรงเรียนอนุบาลยุคลธรระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ กรุงลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy, Politics and Economics, P.P.E.) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาวิชานี้ ต่อจาก พระยาศรีวิศาลวาจาหลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเขาชะโงก จังหวัดนครนายก เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย
ต้นปี พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศาสตร
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชนจึงเรียกนายอภิสิทธิ์ว่า "ดร.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ในบางครั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ น.ส.ปราง เวชชาชีวะ (มะปราง) และ ด.ช.ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ปัณ)

ตระกูลเวชชาชีวะ
ตระกูล "เวชชาชีวะ" มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน เดินทางโดยเรือมาขึ้นฝั่งที่ จ.จันทบุรี ต่อมาในรุ่นคุณปู่ได้เข้ามาอาศัยในกรุงเทพฯ คือ "คุณปู่ใหญ่" (พี่ชายของปู่)
พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข2 สมัย ใน คณะรัฐมนตรี คณะที่ 29 (10 ก.พ. 2502-8 ธ.ค. 2506) และ คณะรัฐมนตรี คณะที่ 30 (11 ธ.ค. 2506- 11 มี.ค. 2512) เป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลบำราศนราดูร จ.นนทบุรี เมื่อ ปี พ.ศ. 2492 และเป็นพี่ชายของนายโฆสิต เวชชาชีวะ ปู่ของนายอภิสิทธิ์
สกุล "เวชชาชีวะ" หรือ "Vejjajiva" เป็นนามสกุลพระราชทานสมัย รัชกาลที่ 6 ลำดับที่ 4,881 จากนามสกุลพระราชทานสมัย ร.6 ที่พระราชทาน รวมทั้งสิ้น 6,423 นามสกุล โดยพระราชทานให้กับรองอำมาตย์ตรีหลง (หลง เวชชาชีวะ) แพทย์ประจำจังหวัดลพบุรี กับ นายจิ๊นแสง (บิดา) นายเป๋ง (ปู่) และนายก่อ (ปู่ทวด) เนื่องจากเป็นต้นตระกูลเป็นแพทย์จึงมีคำว่า "เวช" อยู่ในนามสกุลด้วย

นายอภิสิทธิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นายสุรนันท์เป็นบุตรของ นายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นพี่ชายแท้ๆ ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ บิดาของนายอภิสิทธิ์

การรับราชการทหาร
ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550
นายวีระ มุสิกพงศ์ อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย เปิดเผยว่านายอภิสิทธิ์ไม่เข้ารับการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหารพร้อมทั้งแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกให้กับพรรคประชาธิปัตย์และสื่อมวลชน เรื่องดังกล่าวมีการเปิดเผยต่อสาธารณะมาก่อนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ในช่วงรัฐบาลนายชวน หลีกภัย 1 ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยนายอภิสิทธิ์ได้เคยแถลงว่า ตนเคยรับราชการทหาร เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี โดยการเป็นอาจารย์ที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คำแถลงของนายอภิสิทธิ์ ได้รับการยืนยันจากกองทัพในขณะนั้นว่าเป็นความจริง แต่เนื่องจากการเข้ารับราชการ ต้องแสดงเอกสารเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร จึงเกิดข้อกังขาว่า หากนายอภิสิทธิ์ไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร เหตุใดจึงสามารถสมัครเข้าเป็นอาจารย์ ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้
เรื่องดังกล่าว นายอภิสิทธิ์เคยแถลงเพียงว่า เป็นอำนาจวินิจฉัย และความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานในขณะนั้น ในอีกทางหนึ่งเรื่องนี้เคยมีความเห็นจาก
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2542 ว่าในครั้งนั้น นายอภิสิทธิ์ สมัครเข้ารับราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม โดยขาดส่งหลักฐานทางทหาร ซึ่งมีฐานความผิดเพียงโทษปรับ และมีความเห็นว่านายอภิสิทธิ์ ได้เข้ารับราชการทหารแล้ว
ช่วงเวลาเดียวกันมีความเห็น จากแหล่งข่าวในกองทัพ ว่ากองทัพบกมีเอกสารต้นขั้ว สด.๙ ที่ออกให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อบรรจุเป็นทหารกองเกิน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 จริง และมีเอกสาร สด.๑ ของสัสดีที่ยืนยันการรับ สด.๙ ด้วย อย่างไรก็ดี แม้นายอภิสิทธิ์ไม่มารับการตรวจเลือกและไม่ได้รับ สด.๔๓ แต่เมื่อไปรับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหมในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ก็ถือว่ามีฐานะเป็นทหารแล้ว เพียงแต่ไม่ไปแจ้งให้พ้นบัญชีคนขาดเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

วันครู

ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้