วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Nicolas Sarkozy





Biographie
Nicolas Sarkozy, de son nom complet Nicolas, Paul, Stéphane Sarközy de Nagy-Bocsa[1], est le fils d'Andrée Mallah et de Paul Sarközy de Nagy-Bocsa[2].
Son père, Paul Sarkozy est né à Budapest le 5 mai 1928, dans une famille de la petite noblesse hongroise anoblie le 10 septembre 1628 par l'Empereur Ferdinand II, roi de Bohême et de Hongrie[3]. Son ancêtre, un paysan qui s'est battu contre les Turcs, n'a pas reçu de réel titre de noblesse mais le droit de faire suivre son nom[4] par celui de son village d'origine et l'usage d'un blason[5]. La famille possédait des terres et un petit château dans le village d'Alattyán (près de Szolnok), à 92 km à l'est de Budapest. Le père et le grand-père de Pál Sárközy avaient des fonctions électives à la mairie de Szolnok (dont celle d'adjoint au maire pour le grand-père). À l'arrivée de l'Armée rouge en 1944, la famille est expropriée et s'exile. Après de nombreuses péripéties à travers l'Autriche et l'Allemagne, Pál Sárközy rencontre un recruteur de la Légion étrangère à Baden-Baden. Il s'engage pour cinq ans et fait ses classes en Algérie à Sidi-Bel-Abbès. Il est cependant déclaré inapte au départ pour l'Indochine, puis démobilisé à Marseille en 1948. Il francise alors son nom en Paul Sarközy de Nagy-Bocsa. Devenu publicitaire, il rencontre en 1949 Andrée Mallah, alors étudiante en droit, qu'il épouse. Cette dernière est la fille de Bénédict Mallah, chirurgien du 17e arrondissement de Paris, issu d'une famille de Juifs séfarades chassée d'Espagne puis installée à Salonique à partir du XVIIe siècle[6], marié à Adèle Bouvier, infirmière catholique née à Lyon en 1891, issue d'une famille savoyarde devenue française en 1860.
Nicolas Sarkozy naît le 28 janvier 1955 dans le 17e arrondissement de Paris. Il a deux frères : Guillaume, né en 1951, futur chef d'entreprise dans le textile (vice-président du MEDEF entre 2000 et 2006) et François, né en 1957, qui devient pédiatre puis chercheur en biologie. Lorsque Paul Sarkozy quitte le domicile conjugal en 1959 et divorce, sa femme reprend ses études pour élever ses enfants. Elle devient avocate au barreau de Nanterre ; elle plaide dans l'affaire Villarceaux. Paul Sarkozy se remarie trois fois. De son deuxième mariage, il a deux autres enfants : Caroline et Pierre-Olivier, banquier à New York.

นิโกลาส์ ซาร์โกซี
นิโกลาส์ ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) ฟังเสียง [nikɔla saʁkɔzi] (28 มกราคม พ.ศ. 2498 — ) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์ราคนปัจจุบัน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเศรษฐกิจ การคลังและอุตสาหกรรม กระทรวงงบประมาณและนายกเทศมนตรีเนยยี-ซูร์-แซน
เขาเป็นที่รู้จักดีจากทัศนคติในด้านกฎหมายและคำสั่งของเขา[1] รวมถึงความต้องการให้เศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศสกลับคืนสู่สภาพเดิม[2] ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาได้สร้างความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสหรัฐอเมริกาและยังได้กระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรกับประเทศอื่นๆ อีกด้วย[3] ชื่อเล่นที่ผู้สนับสนุนและไม่สนับสนุนต่างเรียกแทนตัวเขาคือ "ซาร์โก" (Sarko)
ชีวิตส่วนตัว
นิโกลาส์ ซาร์โกซี เป็นลูกชายของปาล ซาร์โกซี เดอ นากี-โบคซา (Pál Sárközy de Nagy-Bócsa) ชาวฮังการีที่อพยพมาและอองเดร มัลละห์ (Andrée Mallah) หญิงชาวฝรั่งเศสนิกายคาทอลิก เชื้อสายกรีก-เซพาร์ดิกยิว[4][5] ตาของเขาเป็นชาวกรีกชื่อว่า เบนิโก มัลละห์ (เดิม อารอน มัลละห์) ซึ่งเป็นอายุรแพทย์จากเทสซาโลนิกิ เบนิโกได้อพยพมายังประเทศฝรั่งเศสเพื่อที่จะมาเป็นแพทย์ เขาเป็นลูกชายของมอร์เดไค มัลละห์ (Mordechai Mallah)
ซาร์โกซี เดอ นากี-โบคซา (Sárközy de Nagy-Bócsa) หรือ นากีโบคไซ ซาร์โกซี (Nagybócsai Sárközy)
ปาล ซาร์โกซี (เกิด พ.ศ. 2471) ณ กรุงบูดาเปสต์ในครอบครัวธรรมดาในประเทศฮังการี ครอบครัวเขาได้ครอบครองที่ดินและปราสาทเล็กๆ ในหมู่บ้านอลัตยัน (Alattyán) ใกล้ๆ เมืองโซลนก (Szolnok) ห่างจากบูดาเปสต์ไปทางทิศตะวันออก 92 กิโลเมตร (57 ไมล์) พ่อและปู่ของปาล ซาร์โกซี ได้รับเลือกตั้งให้ดูแลเมืองโซลนก อย่างไรก็ตามครอบครัวซาร์โกซี เดอ นากี-โบคซา (นากี-โบคไซ ซาร์โกซี) นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ แต่ว่าแม่ (Katalin Tóth de Csáford) และย่าของปาล ซาร์โกซีย์ นั้นนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและยังนิยมลัทธิอภิชนาธิปไตยอีกด้วย
ขณะที่กองทัพแดงบุกฮังการีในปี พ.ศ. 2488 ครอบครัวซาร์โกซีได้หนีไปอยู่ที่ประเทศเยอรมนี[6] พวกเขาได้กลับไปอีกทีในปี พ.ศ. 2489 แต่ที่ดินของพวกเขาก็ได้โดนยึดหมดแล้ว พ่อของปาล ซาร์โกซีได้เสียชีวิตลงในเวลาต่อมา ส่วนแม่ของเขาเกรงว่าปาล ซาร์โกซีจะถูกเกณฑ์ไปร่วมกองทัพประชาชนฮังการีหรือส่งไปไซบีเรีย จึงโน้มน้าวให้เขาออกจากประเทศและสัญญาว่าจะตามเขาไปแล้วค่อยพบกันที่กรุงปารีส ปาลได้ออกจากประเทศฮังการี ไปยังประเทศออสเตรียและต่อมาประเทศเยอรมนี ในขณะที่แม่ของเขาได้รายงานต่อเจ้าหน้าที่ว่าเขาได้จมน้ำที่ทะเลสาบบาลาตอน ในที่สุดปาล ซาร์โกซีได้ถึงเมืองบาเดน-บาเดน ประเทศเยอรมนี ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนประเทศฝรั่งเศส และยังเป็นสถานที่ตั้งของกองบัญชาการทหารฝรั่งเศสในประเทศเยอรมนีอีกด้วย และที่นั่นเองเขาได้เข้าสมัครเป็นส่วนหนึ่งของกองทหารต่างประเทศฝรั่งเศส (Légion étrangère) เขาสมัครเข้าเป็นทหารเป็นเวลา 5 ปี และถูกส่งไปฝึกที่เมืองซิดี เบล อับแบส (Sidi Bel Abbès) ในประเทศแอลจีเรียฝรั่งเศส เพราะเป็นกองบัญชาการกองทหารต่างประเทศฝรั่งเศส ต่อมาเขาจะต้องไปประจำการที่อินโดจีนฝรั่งเศสเมื่อจบการฝึก แต่แพทย์ผู้ซึ่งตรวจสุขภาพของปาลก่อนออกเดินทางนั้นเป็นชาวฮังการีด้วย ด้วยความสงสารและเห็นอกเห็นใจ แพทย์คนนั้นจึงช่วยเหลือปาลไม่ให้ไปประจำการยังอินโดจีนฝรั่งเศส ซึ่งอาจจะตกอยู่ในเงื้อมมือของพวกเวียดมินห์ก็เป็นได้ เขากลับไปใช้ชีวิตเป็นพลเรือนในเมืองมาร์เซย์ปี พ.ศ. 2491 อย่างไรก็ตามเขาได้ขอสัญชาติฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1970 เท่านั้น (หลังจากนั้นเขาได้กลายเป็นคนไร้สัญชาติ) แม้กระนั้นเขาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นภาษาฮังการีเป็นภาษาฝรั่งเศสกลายเป็น ปอล ซาร์โกซี เดอ นากี-โบคซา (Paul Sarközy de Nagy-Bocsa) เขาได้พบกับอองเดร มัลละห์ แม่ของนิโกลาส์ ซาร์โกซี (เป็นที่รู้จักในนาม "ดาดู"[7]) ในปี พ.ศ. 2492
มัลละห์ (Mallah)
อองเดร มัลละห์ นักเรียนกฎหมาย ลูกสาวของเบเนดิกต์ มัลละห์ เศรษฐีผู้เชี่ยวชาญการแพทย์สาขาโรคระบบการขับถ่ายปัสสาวะและโรคติดต่อทางเพศ และมีชื่อเสียงโด่งดังมาเป็นเวลานานในหมู่ชนชั้นกลางในเขตที่ 17 กรุงปารีส]] เบเนดิกต์ มัลละห์ หรือเดิมชื่อ อารอน มัลละห์ (ชื่อเล่น เบนิโก) เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2433 ในชุมชนเซพาร์ดิกยิวของเมืองซาโลนิกา (เทสซาโลนิกิ) จักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งในขณะนั้นประชากรส่วนมากเป็นชาวยิว ตามการศึกษาลำดับเครือญาติของชาวยิวนั้น บรรพบุรุษของครอบครัวมัลละห์แห่งซาโลนิกานั้นมาจากประเทศสเปน ซึ่งได้อพยพออกจากสเปนตั้งแต่พ.ศ. 2035 เนื่องจากกษัตริย์คาทอลิกได้ขับไล่ชาวยิวให้ออกจากประเทศ ต่อมาได้ตั้งรกรากที่เมืองโปรวองซ์ ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ประมาณ 100 ปีหลังจากนั้นได้อพยพมาอยู่ที่ซาโลนิกา เบนิโก มัลละห์เป็นลูกชายเจ้าของร้ายขายเพชรพลอย ได้ออกจากซาโลนิกากับแม่ของเขาในปี พ.ศ. 2447 เมื่อเขาอายุได้เพียง 14 ปี และได้เข้าเรียนที่โรงเรียนลากานาล (Lycée Lakanal) โรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียงในเมืองสโกซ์ (Sceaux) ในชนบททางใต้ของกรุงปารีส เขาเข้าเรียนแพทยศาสตร์หลังจากจบปริญญาตรีและตัดสินใจอาศัยอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสและเป็นพลเมืองฝรั่งเศสในต่อมา เขาเป็นแพทย์ในกองทัพฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุให้เขาเจอกับหญิงม่ายจากสงครามคืออแดล บูวิเยร์ (พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2499) ซึ่งมาจากครอบครัวชนชั้นกลางในลียง ผู้ซึ่งเขาได้แต่งงานในปีพ.ศ. 2460 อแดล บูวิเยร์ ยายของนิโกลาส์ ซาร์โกซีนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกเหมือนกับชาวฝรั่งเศสทั่วไป ส่วนเบนิโก มัลละห์นั้นไม่เป็นที่กล่าวถึงว่านับถือศาสนาใด แต่ได้เปลี่ยนมานับถือนิกายโรมันคาทอลิกเมื่อได้แต่งงานกับอแดล บูวิเยร์ เนื่องจากพ่อแม่ของอแดลขอร้องและให้เขาเปลี่ยนชื่อเป็น "เบเนดิกต์" อย่างไรก็ตามเขาและครอบครัวก็ต้องหนีออกจากปารีสและไปลี้ภัยในจังหวัดกอร์แรซช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อหลบหลีกการถูกจับและควบคุมตัวส่งไปยังเยอรมนี ในระหว่างการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี ตระกูลมัลละห์ที่อาศัยอยู่ในซาโลนิกาหรืออพยพมายังประเทศฝรั่งเศสนั้นได้ถูกเนรเทศไปยังค่ายกักกัน ซึ่งเป็นที่ทราบภายหลังว่า มีสมาชิกตระกูลมัลละห์เสียชีวิตโดยพวกนาซีไปทั้งสิ้น 57 คน[8]
ปอล ซาร์โกซีและอองเดร มัลละห์ได้ตั้งถิ่นฐานในเขตที่ 17 กรุงปารีส และมีบุตรด้วยกัน 3 คน ได้แก่
กีโยม ซาร์โกซี (Guillaume Sarkozy) (พ.ศ. 2494 — ) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทอผ้า
นิโกลาส์ ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) (พ.ศ. 2498 — ) นักการเมืองและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสคนปัจจุบัน
ฟรองซัวส์ ซาร์โกซี (François Sarkozy) (พ.ศ. 2500 — ) จบปริญญาโททางบริหารธุรกิจและผู้บริหารบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ
ในปี พ.ศ. 2502 ปอล ซาร์โกซีได้หย่ากับอองเดร มัลละห์และไปแต่งงานอีก 2 ครั้งโดยมีลูกอีก 2 คนกับภรรยาคนที่ 2
โอลิวีเยร์ ซาร์โกซี พี่น้องร่วมบิดาของเขาได้ถูกเลือกให้เป็นหัวหน้าบริหารและจัดการร่วมในบริษัทคาร์ลีลเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551[9]

ไม่มีความคิดเห็น: