วันที่ ๑o ธันวาคม เป็นวันรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดให้มีขึ้นทุกๆ ปี เพื่อเป็นการระลึกถึงการอุบัติขึ้นของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ก่อนหน้านี้ประเทศไทย มีการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ การเปลี่ยนแปลงนี้นำโดยกลุ่มคนรุ่นหนุ่มสาวที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ และได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดด้านระบอบประชาธิปไตยตะวันตก กลุ่มนี้มีชื่อว่า "คระราษฎร์" นำโดยหลวงประดิษฐ์ มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการนองเลือด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการยกเลิกการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทรงมอบรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของประเทศให้กับประชาชน ที่จริงแล้วพระองค์ทรงเตรียมการที่จะมอบอำนาจของพระองค์ให้อาณาประชาราษฎร์ก่อนที่จะมีการเรียกร้องเสียด้วยซ้ำไป
อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับ ต่างก็ยอมรับพระมหากษัตริย์ว่าทรงดำรงตำแหน่งเป็นประมุขของประเทศ ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก และทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ อำนาจอธิปไตยของพระองค์มาจาก ปวงชนชาวไทย และพระองค์ทรงใช้อำนาจ ๓ ทาง คือ อำนาจนิติบัญญัติ โดยผ่านรัฐสภา อำนาจบริหาร โดยผ่านคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการ โดยผ่านศาลยุติธรรม
ถึงแม้ว่าการปฏิวัติในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จะนำมาซึ่งการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันเป็นระบอบเก่าแก่มาหลายศตวรรษก็ตาม ความเคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยที่มีต่อองค์พระมหากษัตริย์ก็ไม่มีวันเสื่อมคลาย ด้วยการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น ที่เห็นได้ชัดคือ พระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ไทยมีให้เห็นอยู่ทั่วพระราชอาณาจักร ในวันรัฐธรรมนูญจะมีการจัดพิธีฉลองวันนี้กันทั่วประเทศ โดยสถานที่ราชการ อาคารเอกชน และตึกสูงๆ จะประดับด้วยธงชาติ และธงประดับ พร้อมทั้งแสงไฟสว่างไสว ชาวไทยต่างพร้อมใจกันแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณ เปิดโอกาสให้ปวงชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีทั้งหมด 16 ฉบับ ได้แก่ - ฉบับที่ 1 ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2475 - ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 - ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 - ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490 (ฉบับชั่วคราว) - ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 - ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2495 - ฉบับที่ 7 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2502 - ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 - ฉบับที่ 9 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 - ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 - ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 - ฉบับที่ 12 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 - ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2528) - ฉบับที่ 14 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 - ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 - ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ก่อนหน้านี้ประเทศไทย มีการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ การเปลี่ยนแปลงนี้นำโดยกลุ่มคนรุ่นหนุ่มสาวที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ และได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดด้านระบอบประชาธิปไตยตะวันตก กลุ่มนี้มีชื่อว่า "คระราษฎร์" นำโดยหลวงประดิษฐ์ มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการนองเลือด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการยกเลิกการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทรงมอบรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของประเทศให้กับประชาชน ที่จริงแล้วพระองค์ทรงเตรียมการที่จะมอบอำนาจของพระองค์ให้อาณาประชาราษฎร์ก่อนที่จะมีการเรียกร้องเสียด้วยซ้ำไป
อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับ ต่างก็ยอมรับพระมหากษัตริย์ว่าทรงดำรงตำแหน่งเป็นประมุขของประเทศ ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก และทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ อำนาจอธิปไตยของพระองค์มาจาก ปวงชนชาวไทย และพระองค์ทรงใช้อำนาจ ๓ ทาง คือ อำนาจนิติบัญญัติ โดยผ่านรัฐสภา อำนาจบริหาร โดยผ่านคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการ โดยผ่านศาลยุติธรรม
ถึงแม้ว่าการปฏิวัติในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จะนำมาซึ่งการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันเป็นระบอบเก่าแก่มาหลายศตวรรษก็ตาม ความเคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยที่มีต่อองค์พระมหากษัตริย์ก็ไม่มีวันเสื่อมคลาย ด้วยการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น ที่เห็นได้ชัดคือ พระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ไทยมีให้เห็นอยู่ทั่วพระราชอาณาจักร ในวันรัฐธรรมนูญจะมีการจัดพิธีฉลองวันนี้กันทั่วประเทศ โดยสถานที่ราชการ อาคารเอกชน และตึกสูงๆ จะประดับด้วยธงชาติ และธงประดับ พร้อมทั้งแสงไฟสว่างไสว ชาวไทยต่างพร้อมใจกันแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณ เปิดโอกาสให้ปวงชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีทั้งหมด 16 ฉบับ ได้แก่ - ฉบับที่ 1 ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2475 - ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 - ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 - ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490 (ฉบับชั่วคราว) - ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 - ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2495 - ฉบับที่ 7 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2502 - ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 - ฉบับที่ 9 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 - ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 - ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 - ฉบับที่ 12 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 - ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2528) - ฉบับที่ 14 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 - ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 - ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น